นักวิชาการห่วง มาตรการกระตุ้น ดันหนี้ครัวเรือนสูง


02/12/2019 มณีรัตน์ จันทร์เคน

3 ไตรมาสปีนี้ที่ผ่านมา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ส่งสัญญาณชัดว่าภาวะตลาดชะลอตัวค่อนข้างแรง ทั้งที่นโยบายคุมสินเชื่อบ้านด้วยมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 หรือไตรมาส 2 เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจไม่ดีเป็นทุนเดิม ยิ่งซํ้าเติมตลาดให้ทรุดลงอย่างเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น 

ร้อนถึงรัฐบาลต้องเข็นมาตรการมาช่วยพยุงภาคอสังหาฯ ฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์เศรษฐกิจ โดยมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องมากมาย ทั้งภาคก่อสร้าง การจ้างงาน ตลอดจนสินค้าตกแต่งบ้าน

ด้านนายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ระบุว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯของภาครัฐ ไม่น่าจะมีผลช่วยกำลังซื้อในตลาดอสังหาฯ มากนัก ทั้งยังจะก่อให้สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประชากรไทยรุนแรงขึ้นอีก หลังจากขณะนี้ ตัวเลขหนี้ครัวเรือน ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2562 มีมูลค่ารวมพุ่งสูงกว่า 13 ล้านล้านบาท เติบโตถึง 5.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากจำนวนลูกหนี้ทั้งหมด 21 ล้านคนทั่วประเทศ ขณะที่เฉลี่ยหนี้ต่อคน มีมูลค่าประมาณ 5.5 แสนบาท แต่ที่น่ากังวลมากที่สุดขณะนี้ คือประมาณ 3 ล้านคน หรือ 51.9% เป็นกลุ่มหนี้เสีย โดยเฉพาะจากกลุ่มคนเจน X (อายุ 38-52 ปี) ที่ก่อหนี้เสียกระจุกตัวมากสุดในหมวดสินเชื่อส่วนบุคคล 14.7% รองลงมา สินเชื่อรถ 13.5% และสินเชื่อบัตรเครดิต 9% ส่วนหนี้เสียกลุ่มสินเชื่ออย่างไรก็ตาม ภาวะหนี้ส่วนบุคคลที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อในตลาดอสังหาฯ เพราะแม้เดิมทีกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะกลายเป็นเอ็นพีแอลเพียงเล็กน้อย แต่ขณะนี้คนซื้อบ้าน นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นของภาครัฐแล้ว ที่แต่ละมาตรการต่างๆ มีข้อจำกัดค่อนข้างมากอยู่แล้ว ผู้ซื้อยังต้องลุ้นว่า จะผ่านระบบคัดกรองการอนุมัติสินเชื่อโดยธนาคารหรือไม่ ซึ่งย่อมจะขึ้นอยู่กับประวัติความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ต่างๆ ก่อนหน้าว่าดี-ร้ายอย่างไร ฉะนั้น มาตรการกระตุ้นของรัฐที่เป็นเพียงการกระตุ้นระยะสั้น และเมื่อตลาดปรับสู่สมดุล จะทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอีก หากผู้ซื้อยังมีพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ผิดนัด

“คนที่จะมากู้เพื่อซื้อบ้านอ่อนแอลง จากภูเขาหนี้พบยอดหนี้กว่า 3.8 ล้านล้านบาท เป็นเอ็นพีแอลถึง 2.5 แสนล้านบาท โดยหนี้ส่วนใหญ่เป็นรถคันแรก เมื่อผ่อนรถไม่ได้ ผ่อนของไม่ได้ บ้านซึ่งเป็นหนี้ระยะ 20 ปี จะผ่อนได้อย่างไร ธนาคารเขาดูจากความสามารถในการผ่อนหนี้ก่อนหน้า เปรียบเป็นกรรมตามหลอกหลอน”

ทั้งนี้ แต่ละปี ยอดอนุมัติสินเชื่อแค่เฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยจากทุกระบบ เฉลี่ยอยู่ที่ 1 แสนบัญชี/ไตรมาส โดยยอดทั้งปีของปี 2561 เท่ากับ 4.3 แสนบัญชี กระจุกตัวมากสุดในกลุ่มคอนโดมิเนียม จากผู้ซื้อคนเจน Y (อายุ 23-38 ปี) มากสุด 58% รองลงมาจากคนเจน X (อายุ 38-52 ปี) ประมาณ 35% และสุดท้าย 7% จากกลุ่ม Baby Boomer (อายุ 53-71 ปี) ขณะที่ยอด 9 เดือนของปี 2562 
(ม.ค.-ก.ย.) มียอดอนุมัติสินเชื่อแล้ว 2.8 แสนบัญชี โดย 9 หมื่นบัญชีเป็นของคนเจน Y ที่มีค้างชำระหนี้ จะกำลังจะกลายเป็นเอ็นพีแอลในระบบ

แหล่งที่มา เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 1 ธันวาคม 2562


แชร์บทความ
Tags

ตลาดที่อยู่อาศัยบ้านมาตรการกระตุ้นอสังหาฯมาตรการรัฐหนี้ครัวเรือน


add line phoenix